เฮดจ์ฟันด์ (HF) คืออะไร? article
เฮดจ์ฟันด์ Hedge Fund (HF) คือ กองทุนประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายในการบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรให้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ (ตัวอย่างเช่น Options Futures หรือ Forward) การทำ Short Sell การทำ Arbitrage หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
เฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวม ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นการรวบรวมเงินที่ได้จากผู้ลงทุนมาลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวมทั่วไป คือ จุดมุ่งหมายในการแสวงหาผลตอบแทน
ทั้งนี้กองทุนรวมทั่วไปมีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark) ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตราสารทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะทำผลตอบแทนให้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กองทุนที่มีการบริหารเงินลงทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมต้องได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมากกว่า
ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบและกองทุนติดลบน้อยกว่าก็ถือว่ากองทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ดีกว่า ในขณะที่กองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจ Benchmark แต่สนใจที่ตัวกำไร หรือผลตอบแทนที่เป็นบวกเท่านั้น (Positive Absolute Returns) ดังนั้นถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนติดลบก็จะถือว่าบริหารกองทุนล้มเหลว
การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่เสนอขายต่อประชาชนรายย่อย เนื่องจาก ไม่ต้องดำรงสัดส่วนการลงทุนตามประกาศของหน่วยงานที่ควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มักคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดยกำหนดให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ดังนั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จึงจำกัดผู้ลงทุนไว้ที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) หรือนักลงทุนที่เป็นบุคคลฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุนประเภทนี้อย่างเพียงพอ (Sophisticated and Wealthy Investors) และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ส่วนใหญ่แล้วจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หนึ่งๆ จะมีอยู่ไม่เกิน 100 รายเท่านั้น
เฮดจ์ฟันด์เริ่มมีการพัฒนาและมีบทบาทอย่างมากในตลาดการเงินการลงทุนของโลก ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 90 โดยจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1,373 กองทุนในปี 1988 มาเป็น 7,000 กองทุน ในปลายปี 2001 มีจำนวนเงินภายใต้การบริหารเพิ่มจาก 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Van Hedge Fund Advisors International)
สถาบัน เฮดจ์ฟันด์โดยแท้จริงแล้ววัดกันด้วยขนาดของเงินทุนที่กองทุนเหล่านั้นบริหารอยู่ ต่อไปนี้คือ 10 อันดับแรกของกองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง ซึ่งนิตยสารทางการเงินและการลงทุนชื่อ อัลฟ่า แม็กกาซีน คัมภีร์สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายจัดอันดับไว้ โดยยึดเอาจำนวนเงินทุนที่แต่ละกองทุนมีไว้บริหาร ณ สิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาเป็นหลัก
อันดับ 1 คือ เจพี มอร์แกน แอสเสต แมเนจเมนต์ เฮดจ์ ฟันด์ ในเครือเจพี มอร์แกน วาณิชธนกิจระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบรวม 45,000 ล้านดอลลาร์
2.บริดจ์วอเทอร์ แอสโซซิเอตส์ มีสำนักงานอยู่ในเมืองเวสต์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบ 36,000 ล้านดอลลาร์
3.ฟารัลลอน แคปปิตอล แมเนจเมนต์ สำนักงานใหญ่อยู่ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบใกล้เคียงกับบริดจ์วอเทอร์ คือราว 36,000 ล้านดอลลาร์
4.เรอเนสซองซ์ เทคโนโลยี สำนักงานใหญ่อยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบราว 34,000 ล้านดอลลาร์
5.ออค-ซิฟฟ์ แคปปิตอล แมเนจเมนต์ จากนิวยอร์กเช่นกัน เงินทุนใกล้เคียงกันคือราว 33,000 ล้านดอลลาร์
6.ดี.อี.ชอว์ กรุ๊ป จากนิวยอร์กเช่นกัน เงินทุนอยู่ที่ประมราณ 32,500 ล้านดอลลาร์
7.โกลด์แมน แซคส์ แอสเสต แมเนจเมนต์ นี่ก็สัญชาติอเมริกัน เงินทุนอยู่ที่ 29,000 ล้านดอลลาร์
8.พอลสัน แอนด์ โค สำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก 28,000 ล้านดอลลาร์
9.บาร์เคลย์ โกลบอล อินเวสเตอร์ สัญชาติอังกฤษ 26,500 ล้านดอลลาร์
10.จีแอลจี พาร์ทเนอร์ส ได้ชื่อว่าเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เงินทุนที่มีอยู่ในความควบคุม 24,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2005 มีเฮดจ์ฟันด์ที่บริหารเงินทุนเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์อยู่ 196 บริษัท รวมเงินทุนทั้งอุตสาหกรรมเท่ากับ 743,000 ล้านดอลลาร์เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2007 เงินที่อยู่ในความควบคุมของเฮดจ์ฟันด์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 2.68 ล้านล้านดอลลาร์
เฮดจ์ฟันด์ Hedge Fund (HF) คือ กองทุนประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายในการบริหารเพื่อให้ได้ผลตอบแทนหรือกำไรให้มากที่สุด โดยใช้เครื่องมือทางการเงินที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น ตราสารอนุพันธ์ต่างๆ (ตัวอย่างเช่น Options Futures หรือ Forward) การทำ Short Sell การทำ Arbitrage หรือแม้แต่การกู้ยืมเงินมาเพื่อลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน
เฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวม ทั่วไปมีความคล้ายคลึงกันในแง่ที่เป็นการรวบรวมเงินที่ได้จากผู้ลงทุนมาลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทน แต่ข้อแตกต่างที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์กับกองทุนรวมทั่วไป คือ จุดมุ่งหมายในการแสวงหาผลตอบแทน
ทั้งนี้กองทุนรวมทั่วไปมีเป้าหมายในการลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark) ตัวอย่างเช่น กองทุนรวมตราสารทุนในไทยมีเป้าหมายที่จะทำผลตอบแทนให้ดีกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนเป็นบวก กองทุนที่มีการบริหารเงินลงทุนที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมต้องได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกมากกว่า
ถ้าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ให้ผลตอบแทนติดลบและกองทุนติดลบน้อยกว่าก็ถือว่ากองทุนสามารถบริหารจัดการเงินลงทุนได้ดีกว่า ในขณะที่กองทุนประเภทเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจ Benchmark แต่สนใจที่ตัวกำไร หรือผลตอบแทนที่เป็นบวกเท่านั้น (Positive Absolute Returns) ดังนั้นถ้ากองทุนให้ผลตอบแทนติดลบก็จะถือว่าบริหารกองทุนล้มเหลว
การลงทุนในเฮดจ์ฟันด์มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปที่เสนอขายต่อประชาชนรายย่อย เนื่องจาก ไม่ต้องดำรงสัดส่วนการลงทุนตามประกาศของหน่วยงานที่ควบคุม เช่น สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่มักคุ้มครองผู้ลงทุนรายย่อย โดยกำหนดให้มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ
ดังนั้น เฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่จึงจำกัดผู้ลงทุนไว้ที่นักลงทุนสถาบัน (Institutional Investors) หรือนักลงทุนที่เป็นบุคคลฐานะดีและมีความเข้าใจในการลงทุนประเภทนี้อย่างเพียงพอ (Sophisticated and Wealthy Investors) และสามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ส่วนใหญ่แล้วจำนวนผู้ลงทุนในกองทุนเฮดจ์ฟันด์หนึ่งๆ จะมีอยู่ไม่เกิน 100 รายเท่านั้น
เฮดจ์ฟันด์เริ่มมีการพัฒนาและมีบทบาทอย่างมากในตลาดการเงินการลงทุนของโลก ตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษที่ 90 โดยจำนวนกองทุนเพิ่มขึ้นจาก 1,373 กองทุนในปี 1988 มาเป็น 7,000 กองทุน ในปลายปี 2001 มีจำนวนเงินภายใต้การบริหารเพิ่มจาก 42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐมาเป็น 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ข้อมูลจาก Van Hedge Fund Advisors International)
สถาบัน เฮดจ์ฟันด์โดยแท้จริงแล้ววัดกันด้วยขนาดของเงินทุนที่กองทุนเหล่านั้นบริหารอยู่ ต่อไปนี้คือ 10 อันดับแรกของกองทุนรวมเพื่อความเสี่ยง ซึ่งนิตยสารทางการเงินและการลงทุนชื่อ อัลฟ่า แม็กกาซีน คัมภีร์สำหรับผู้เกี่ยวข้องกับเฮดจ์ฟันด์ทั้งหลายจัดอันดับไว้ โดยยึดเอาจำนวนเงินทุนที่แต่ละกองทุนมีไว้บริหาร ณ สิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาเป็นหลัก
อันดับ 1 คือ เจพี มอร์แกน แอสเสต แมเนจเมนต์ เฮดจ์ ฟันด์ ในเครือเจพี มอร์แกน วาณิชธนกิจระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบรวม 45,000 ล้านดอลลาร์
2.บริดจ์วอเทอร์ แอสโซซิเอตส์ มีสำนักงานอยู่ในเมืองเวสต์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบ 36,000 ล้านดอลลาร์
3.ฟารัลลอน แคปปิตอล แมเนจเมนต์ สำนักงานใหญ่อยู่ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบใกล้เคียงกับบริดจ์วอเทอร์ คือราว 36,000 ล้านดอลลาร์
4.เรอเนสซองซ์ เทคโนโลยี สำนักงานใหญ่อยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีเงินทุนอยู่ในความรับผิดชอบราว 34,000 ล้านดอลลาร์
5.ออค-ซิฟฟ์ แคปปิตอล แมเนจเมนต์ จากนิวยอร์กเช่นกัน เงินทุนใกล้เคียงกันคือราว 33,000 ล้านดอลลาร์
6.ดี.อี.ชอว์ กรุ๊ป จากนิวยอร์กเช่นกัน เงินทุนอยู่ที่ประมราณ 32,500 ล้านดอลลาร์
7.โกลด์แมน แซคส์ แอสเสต แมเนจเมนต์ นี่ก็สัญชาติอเมริกัน เงินทุนอยู่ที่ 29,000 ล้านดอลลาร์
8.พอลสัน แอนด์ โค สำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก 28,000 ล้านดอลลาร์
9.บาร์เคลย์ โกลบอล อินเวสเตอร์ สัญชาติอังกฤษ 26,500 ล้านดอลลาร์
10.จีแอลจี พาร์ทเนอร์ส ได้ชื่อว่าเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เงินทุนที่มีอยู่ในความควบคุม 24,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2005 มีเฮดจ์ฟันด์ที่บริหารเงินทุนเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์อยู่ 196 บริษัท รวมเงินทุนทั้งอุตสาหกรรมเท่ากับ 743,000 ล้านดอลลาร์เมื่อไตรมาสที่ 3 ของปี 2007 เงินที่อยู่ในความควบคุมของเฮดจ์ฟันด์ทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 2.68 ล้านล้านดอลลาร์
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น