Daylight saving time (DSI)
ในปีนี้การปรับเปลียนเวลาตรงกับวันที่ 26-27 ตุลาคม, 2013, ประเทศของสหภาพยุโรปจะกลับไปเวลามาตรฐานจากการปรับเวลาตามฤดูกาล ในประเทศสหรัฐอเมริาเช่นเดียวกันที่จะเกิดขึ้นในคืนของ เดือนพฤศจิกายน 2-3 , 2013 และจะปรับเวลาเป็นเวลาปกติในวันที่ 14 มีนาคม 2014 เนื่องจากการสิ้นสุดของการปรับเวลาตามฤดูกาลตารางเวลาการซื้อขาย
และนักลงทุนจึงจำเป็นต้องทราบ ในการปรับเปลี่ยนเวลา
ขยายความ
ถ้าหากท่านที่เคยเล่นหุ้นในอเมริกา จะทราบกันดีกับการเปลี่ยนแปลงเวลา จากเดิมตลาดเปิดตลาด 2 ทุ่ม ปิดลาดตี 3 เลื่อนไปเปิดเป็น 3 ทุ่ม ปิดตลาดตอนตี 4 เป็นเรื่องปกติ จะสินสุดฤดุกาลปรับเปลี่ยนเวลา วันที่ 14 มีนาคม 2557
Daylight saving time (DSI) หรือเวลาออมแสงแดด ประเทศเมืองหนาวจะมีการปรับนาฬิกาให้เร็วขึ้นจากเดิม 1 ชั่วโมงเมื่อถึงฤดูร้อน/ฤดูใบไม้ผลิ และเปลี่ยนกลับมาเป็นเหมือนเดิมในช่วงฤดูหนาว/ฤดูใบไม้ร่วง
หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไม คนโซนยุโรป และอเมริกา ต้องมานั่งปรับนาฬิกาขึ้นลงในมันยุ่งยาก เป็นเพราะในประเทศเมืองหนาวเมื่อถึงฤดูร้อนเวลาจะยาวนานกว่าฤดูหนาว หรือกลางวันยาวนาน กว่ากลางคืน และเพื่อให้คนตื่นช้ามารับแสงสว่างเร็วขึ้น นั่นเอง จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเวลาตามฤดูกาล เมื่อถึงฤดูกาลชาวเมืองนั้น ๆ จะทราบทันทีเวลาต้องปรับเปลี่ยนเวลา
บุคคลที่ริเริ่มในการปรับเปลี่ยนเวลา (DSI)
คือนายเบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (ผู้คิดค้นสายล่อฟ้าผู้นี้นี่เอง) ได้นำความคิดเรื่องการปรับเปรียนเวลาไปเสนอกับบรรณาธิการของ The Journal of paris ตั้งแต่ในปี 1784 แต่ไอเดียไม่เป็นที่ยอมรับ จนล่วงเลยมาจนกระทั่งปี 1907 นายวิลเลียม วิลเล็ตต์ ชาวอังกฤษ ได้นำเสนอแนวความคิดนี้อีกครั้งในหนังสือเรื่อง Waste of Daylight แต่ กว่าจะมาเริ่มใช้ DSI กันจริง ๆ ก็นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะช่วงนั้นต้องประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง เพราะต้องการให้คนตื่นเช้า และใช้เวลาในกลางคืนน้อยลง
ในปัจจุบันกว่า 70 ประเทศใช้เวลา DSI เช่นในกลุ่มประเทศยุโรป EU (EUR) สหรัฐอเมริกา US (USD) อังกฤษ (GBP)
และประเทศอื่น ๆ ที่จะเริ่มมีการปรับเปลี่ยนเวลาให้เร็วขึ้นวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคม และปรับกลับคืนในตอน 01.00 น. ของเวันอาทิตย์สุดท้านในเดือนตุลาคม
แผนที่แสงแสดงกลุ่มประเทศที่ใด
สีฟ้า หมายถึงประเทศที่ใช้เวลา DSI
สีส้ม หมายถึงประเทศที่เคยใช้เวลา DSI
สีแดง ประเทศที่ไม่เคยมีการใช้ DSI เชน Thailand
0 comments:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น